วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โครงสร้างทางเทคนิคและการใช้งาน Input Unit


 Sensor ในงานอุตสาหกรรม
Sensor เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้งานอุตสาหกรรมในระบบการควบคุมแบบอัตโนมัติซึ่งสามารถ แบ่งแยกตามลักษณะการใช้งานและคุณสมบัติที่ได้ คือ...
1.             Limit Switch (สวิทซ์จำกัดระยะ)

การทำงานจะอาศัยแรงกดจากภายนอกมากระทำ เช่น วางของทับที่ปุ่มกด หรือ ลูกเบี้ยวมาชนที่ปุ่มกด
2.             Photo Electric Sensors เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับตรวจจับการมี หรือ ไม่มีวัตถุที่เราต้องการตรวจจับ โดยอาศัยหลักการวัดปริมาณของความเข้มของแสงที่กระทบกับวัตถุและ สะท้อนกลับมายัง Photo Electric Sensors

3.             Proximity Sensors เป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ที่ใช้สำหรับตรวจจับการมีหรือไม่มีของวัตถุโดย อาศัยหลักการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กหรือสนามไฟฟ้า แบ่งได้เป็น 2 แบบคือ
a. ชนิดสนามแม่เหล็ก (Inductive)
b. ชนิดสนามไฟฟ้า (Capacitive)
ซึ่งพอที่จะสรุปจุดเด่น จุดด้อยในการนำ Sensor แบบต่างๆ มาใช้งานได้ตามตารางข้างล่างนี้

ข้อเปรียบเทียบระหว่างลิมิตสวิตซ์กับเซ็นเซอร์ชนิดต่างๆ จุดเด่นในการใช้งาน
จุดด้อยในการใช้งาน
ลิมิตสวิตซ์
(Limit Switches)



- ติดตั้งสะดวก , ง่าย
- เป็นอุปกรณ์ที่มีสวิทซ์แยก (Isolated)
- ไม่ต้องมีไฟเลี้ยงวงจรในการทำงาน
- การทำงานเชื่อถือได้
- มีความสามารถในการรับกระแสได้ สูงในการทำงาน
- มีความแม่นยำและเที่ยงตรง
- ราคาต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับชนิด อื่นๆ
- มีอายุการใช้งานจำกัด
- มีความเร็วการทำงานจำกัด
(ประมาณ 1.5 เมตร/วินาที)
- หน้าคอนแทคเสื่อมและทำงานได้ ไม่เต็มประสิทธิภาพเมื่อถึงระยะเวลา ที่กำหนด
- ดัชนีการป้องกัน (IP) ถูกจำกัด
- ความน่าเชื่อถือต่ำเมื่อทำงานที่มี ระดับสัญญาณต่ำ
เซ็นเซอร์แบบเหนี่ยวนำ (Inductive Proximity Sensors)


- อายุการใช้งานไม่ได้ขึ้นอยู่กับ จำนวนครั้งของการทำงาน
- มีลำตัวที่แข็งแรงสามารถใช้งานใน โรงงานได้ดี
- มีดัชนีการป้องกัน (IP) สูง
- สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ อิเลคทรอนิกส์ได้ดี
- ไม่มีส่วนประกอบใดๆ ที่ต้องสัมผัส กับวัตถุที่ตรวจจับ
- สามารถตรวจจับวัตถุที่เคลื่อนที่ย่าน ความเร็วสูงได้
- ระยะการตรวจจับจำกัด
(ประมาณ 60 mm)
- ตรวจจับได้เฉพาะวัตถุที่เป็นโลหะ เท่านั้น
- การคำนวณจุดการทำงาน (Switching Point) ได้ยาก หากเป้าตรวจจับไม่ได้มาตรฐาน
(เล็กกว่า)และชนิดของโลหะที่ไม่ใช่ เหล็ก
เซ็นเซอร์แบบเก็บประจุ (Capacitive Proximity Sensors)



- สามารถตรวจจับวัตถุได้ทุกชนิด
- สามารถตรวจจับผ่านแผ่นกั้น (Partition) ได้
- มีความไวสูงต่อการเปลี่ยนแปลง รอบข้าง เช่น อุณหภูมิและความชื้น
- ระยะการตรวจจับที่จำกัด
เซ็นเซอร์แบบใช้แสง
(Photo Electric Sensors)


- สามารถตรวจจับในระยะไกลได้
- สามารถตรวจจับวัตถุได้ทุกชนิด
- สามารถตรวจจับวัตถุได้ทุกขนาด รวมถึงวัตถุที่มีลักษณะแหลมคม
- มีเอาต์พุตทั้งแบบรีเลย์หรือโซลิต
สเตท
- มีชนิดที่ออกแบบสำหรับตรวจจับ แถบสี (Colour Mark)
- ประสิทธิภาพการทำงานลดลงเมื่อมี ฝุ่นหรือสิ่งสกปรกจับที่ด้านหน้าชุด ส่งหรือชุดรับแสง
- การทำงานอาจผิดพลาดได้หากมี การใช้งานบริเวณรอบข้างที่มีแสง สว่างจ้าเกินไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น